วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

ครั้งแรกในชีวิตตักบาตรพระเณรแสนรูป

ซุปเปอร์บิ๊กบุญตักบาตรพระเณรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

การจัดทำโครงการตักบาตรแสนในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559  ณ วัดพระธรรมกาย
ที่จะถึงนี้พวกเราชาวพุทธต่างปลื้มที่จะได้ตักบาตรและถวายภัตตาหาร
เป็นสังฆทานพระภิกษุสามเณรมากกว่าแสนรูป อานิสงส์นี้แรงสุดๆ

จากอรรถกถาเรื่องของพระมหากัสสปะ ผู้เป็นเลิศด้านถือธุดงควัตร
ท่านเป็นเอตทัคคะ เพราะบุญที่ทำกับพระจำนวนมหาศาล ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระมหากัสสปะท่านเกิดเป็นเศรษฐีที่ชื่อว่า เวเทหะ 
วันหนึ่งท่านได้ไปเข้าเฝ้าพระปทุมุตตรพุทธเจ้า แล้วเห็นพระองค์ทรงแต่งตั้งพระมหานิสภเถระ ให้เป็นเอตทัคคะ ด้านผู้ถือธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์

หลังจากเสร็จพิธี เวเทหะเศรษฐีก็ได้เข้าไปกราบนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยขออนุญาตว่า พรุ่งนี้จะขอนิมนต์พระภิกษุทั้งหมดจำนวน 6 ล้าน 8 แสนรูปมาฉันภัตตาหารที่บ้าน วันรุ่งขึ้นระหว่างการถวายภัตตาหาร เวเทหะเศรษฐีเห็นพระมหานิสภเถระเดินบิณฑบาตอยู่ จึงนิมนต์เข้ามาฉันภัตตาหารในบ้านของตน 
แต่ด้วยข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดในการถือธุดงควัตร ท่านจึงแค่รับภัตตาหารลงในบาตร แต่ไม่ได้เข้าไปในบ้านของเวเทหะเศรษฐี 

พระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้สรรเสริญข้อวัตรปฏิบัติของพระมหานิสภเถระ จนเวเทหะเศรษฐีเกิดความเลื่อมใสอย่างแรงกล้า แล้วอยากเป็นเลิศด้านผู้ถือธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์เหมือนพระมหานิสภเถระบ้าง เวเทหะเศรษฐีจึงได้นิมนต์พระจำนวน 6 ล้าน 8 แสนรูป มาฉันภัตตาหารแบบนี้อีก 7 วันติดกันเพื่อเอาบุญนี้ และอธิษฐานตั้งความปรารถนาเป็นเอตทัคคะเหมือนพระมหานิสภเถระ

พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตจะได้เป็นเลิศด้านผู้ถือธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์มีชื่อว่าพระมหากัสสปเถระในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

การทำบุญกับพระจำนวนมหาศาลเป็นบุญที่มีอานิสงส์แรงมาก
ในอรรถกถายังมีการยืนยันอีกว่ามีการตักบาตรพระถึง 2 หมื่นรูป ในสมัยของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ในครั้งที่พระองค์ทรงนำพระภิกษุทั้งหมดบิณฑบาตโปรดพระประยูรญาติและชาวเมืองกบิลพัสดุ์

ดังนั้นการตักบาตรพระเณรแสนรูป ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 นี้
ถือว่าเป็นการตักบาตรที่จะทำให้ทุกคนได้บุญใหญ่เหมือนย้อนยุคพุทธกาล 
เราต้องมาเอาบุญใหญ่ครั้งนี้กันทุกคน จะได้เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตว่า

       “ครั้งหนึ่งในชีวิตของเรา ได้ตักบาตรพระเณรแสนกว่ารูป 



                         เป็นบุญลาภของตัวเราเอง"


                 ....ลืมไม่ลง คงไม่ลืม ปลื้มไปทุกชาติ...

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ความประทับใจที่มีต่อคุณยาย

ทำบุญกันไว้เยอะๆ "บุญมัน มีได้ มันก็หมดได้"
ยายบอกว่า.. บุญเล็กบุญน้อย ยายจะเก็บให้หมด 
           ท่านมักจะสอนบ่อยๆ ว่า..บุญมีได้มันก็หมดได้นะ ต้องทำบ่อยๆ  กว่าเราจะละความชั่ว มาสร้าง ความดีได้ เราเผลอทำความไม่ดีมาไว้เท่าไรก็ไม่รู้ ซึ่งสิ่งไม่ดีเหล่านั้นมันไม่ได้หายไปไหนหรอก
         ความไม่ดีนี่ ท่านบอกว่า..มันเหมือน"ตอที่อยู่ ใต้น้ำ" "ถ้าน้ำเหลือน้อย น้ำลดตอมันก็โผล่ " พอตอมันโผล่มากเข้าๆ ก็เป็นอุปสรรคกับเรือที่สัญจรไปมา ท่านบอกว่า ยายมีชีวิตอยู่ริมน้ำมาตลอด ตั้งแต่เด็กๆ อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี มาอยู่กับหลวงพ่อ ก็อยู่ริมคลองภาษีเจริญ  แม้มาอยู่วัดพระธรรมกาย กุฏิยายก็อยู่ข้างน้ำ อยู่ริมน้ำมาตลอด พอน้ำลดตอมันโผล่นะ 
          ต้องหมั่นทำบุญเยอะๆ เติมบุญของเราไปเรื่อย หนีตอใต้น้ำไปให้พ้น จนกระทั่งแม้มี มันก็ไม่ทำอันตรายเราได้ ทำบุญหนีบาปทั้งหลายไปให้พ้น  เพราะตอใต้น้ำนี่ มันโผล่ขึ้นมาแล้ว มันเป็นอุปสรรคในการสร้างบุญของพวกเรา 
            ท่านจะใช้คำว่า.."อย่าประมาทเชียวนะ ทำบุญกันไว้เยอะๆ" "บุญมัน มีได้ มันก็หมดได้"
นี่คือคำสอนคุณยายอาจารย์มหารัตนอุุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

กฎหมายกับกฎแห่งกรรม

กฎหมายกับกฎแห่งกรรมแตกต่างกันอย่างไร?
กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ ตกลงกัน
และกำหนดขึ้นเป็นระเบียบปฏิบัติของคนในสังคม
เช่น กฎหมายประเทศไทย เป็นเรื่องที่คนไทยตราขึ้นมา
โดยมีการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา ร่วมกันร่างกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติแต่กฎหมายบางอย่าง
เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือพระราชกำหนดร่างโดยคณะรัฐมนตรี
-------------------------------------------------------------------------
นอกจากนี้ก็มีระเบียบบางอย่างออกโดยกระทรวงหรือหน่วยงาน
ซึ่งกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด
หรือระเบียบปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานก็มีศักดิ์และสิทธิ์ต่างกันไป
นอกจากนี้กฎหมายของแต่ละประเทศ
ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ละสังคมต่างก็มีกฎของตัวเอง
 ------------------------------------------------------------------------
ส่วนกฎแห่งกรรม ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนหรือชนแต่ละกลุ่มกำหนดขึ้น
แต่เป็นกฎที่คอยควบคุมความเป็นไปของพฤติกรรมมนุษย์ว่า
ถ้าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดผลอย่างไร
ซึ่งความจริงกฎแห่งกรรมไม่ได้มีผลเฉพาะมนุษย์เท่านั้น
แต่ยังควบคุมพฤติกรรมสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย
ไม่ว่าเทวดา พรหม หรือสัตว์ต่างๆ
ถ้าใครทำสิ่งที่ดีก็เป็นกรรมดี และจะได้รับผลดีตอบสนอง
ถ้าทำสิ่งไม่ดีก็เป็นกรรมชั่ว จะมีวิบากที่ร้ายแรงตอบสนอง
-------------------------------------------------------------------------------
มนุษย์ก็เช่นกัน ไม่ว่าเป็นคนชาติไหน นับถือศาสนาอะไร 
มีความเชื่ออย่างไร
ล้วนอยู่ใต้กฎแห่งกรรมเหมือนกันทั้งสิ้น
---------------------------------------------------
กฎแห่งกรรมไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ แต่เป็นความจริงที่มีผลกับคนทุกศาสนา
แม้คนนั้นไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ก็ต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเหมือนกัน
กฎแห่งกรรมนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า
พระองค์ไม่ใช่ผู้บัญญัติขึ้น แต่เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วก็ทรงไปรู้ไปเห็นความจริงว่า
กฎแห่งกรรมมีอยู่และเมื่อทรงได้เห็นความจริงแล้วว่า
ทำอย่างไรเป็นบุญทำอย่างไรเป็นบาป
ทรงนำมาสั่งสอนมนุษย์ 
เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่ทำความชั่ว และจะได้ตั้งใจทำความดี 
ทำใจให้ผ่องใส สุดท้ายจะได้พ้นจากกิเลสอาสวะ แล้วเข้าพระนิพพาน
 ------------------------------------------------------------------------------------------
กฎแห่งกรรม คือกฎแห่งความจริง ที่ไม่ขึ้นกับความเชื่อ
ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ต้องเจอ
ที่สำคัญก็คือ เราจะเชื่อตอนเป็นหรือจะไปเห็นตอนตาย
ถ้าเชื่อตอนยังมีชีวิตอยู่เราจะได้ไม่ทำบาป
แล้วตั้งใจทำบุญ แม้อาจยังไม่เชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์
เพราะยังไม่เห็นว่านรกเป็นอย่างไร เชื่อเผื่อเหนียวไว้ก่อนแล้วกัน
เพราะถ้าเราเชื่อตอนเป็น เรายังมีทางแก้ไขได้อะไรที่ไม่ดีก็อย่าไปทำ
ที่เคยทำมาแล้วก็ลืมๆ ไปเสีย
แล้วตั้งใจทำความดีไปชดเชย แต่ถ้าตอนมีชีวิตอยู่ไม่เชื่อ
พอตายแล้วตกนรกไปเจอพญายมราช
ถึงตอนนั้นจะกลับตัวก็ไม่ทันแล้ว
 ---------------------------------------
เราต้องเลือกแล้วว่า จะเชื่อตอนเป็นหรือว่าจะไปเห็นตอนตาย
ถ้าให้แนะนำขอบอกว่าเชื่อดีกว่า
แล้วบาปกรรมก็อย่าไปทำเลยทำความดีเยอะๆ
จะได้ไม่ตกนรก ไม่ต้องไปอบาย จะได้ไปสวรรค์กัน
ถ้าบุญเราเต็มที่เมื่อไรหมดกิเลสเมื่อไร จะได้ไปนิพพานกัน

ผู้คนส่วนใหญ่เกรงกลัวกฎหมายหรือกฎแห่งกรรมมากกว่ากัน?
ในหมู่คนที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง เขาก็ยังไม่เชื่อว่ากฎแห่งกรรมมีจริง
แต่ในเรื่องของกฎหมายเขาสัมผัสได้ ถ้าทำผิดกฎหมายเดี๋ยวถูกปรับ บางทีก็ติดคุก
เขาจะเกรงกลัวกฎหมายมากกว่า
 แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจความเป็นจริงเขาจะกลัวกฎแห่งกรรมมากกว่า
 -------------------------------------------------
กฎหมายกับกฎแห่งกรรมก็คล้าย ๆ กัน
แต่ว่าเราชาวพุทธทุกคนรู้หลักนี้แล้ว
ต้องไม่ทำผิดทั้งกฎหมายและกฎแห่งกรรม
และให้ตระหนักไว้ลึก ๆ ว่า
กฎแห่งกรรมน่ากลัวกว่ากฎหมายเยอะ

กฎหมายลงโทษได้หนักที่สุด คือ ประหารชีวิต
รองลงมาก็จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตามระยะเวลาที่ได้รับโทษ หรือจ่ายค่าปรับ
ซึ่งโทษหนักที่สุด คือ ประหารชีวิตนั้น โดนประหารแค่ครั้งเดียวเมื่อตายก็จบกัน
โทษตามกฎแห่งกรรม 
พอตายแล้วก็จะมีชีวิตขึ้นมาใหม่ด้วยอำนาจของกรรม
แล้วโดนลงทัณฑ์ทรมานต่อ
ตายเกิดตายเกิดอย่างนี้วันละหลายล้านหน
สุดท้ายพอตายแล้วตกนรก ตอนนั้นจะบอกว่าเชื่อ จะไม่ทำอีกแล้ว ก็สายเกินไป
------------------------------------------------------- 
กฎแห่งกรรมมีการลดโทษให้คนที่ทำบาปบ้างไหม?
       กฎแห่งกรรมไม่มีการลดโทษ
       แต่ถ้าเราทำผิดแล้วสำนึกผิด และพยายามทำความดีมาชดเชย
      วิบากกรรมนั้นก็จะลดหย่อนลง
       -------------------------------------- 
เมื่อผ่านยุคสมัยไป กฎหมายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
กฎแห่งกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไหม?
    กฎแห่งกรรมไม่มีทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เลย คงตัวอยู่อย่างนั้น
     พระพุทธเจ้าทรงไปเห็นกฎแห่งกรรม
     และทรงบอกเราว่า 
     อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทำแล้วจะเกิดอกุศล
    เช่น ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดคำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ เป็นต้น
   กฎแห่งกรรมก็เป็นกฎเดียวกันไม่เคยเปลี่ยนแปลง
    ------------------------------------------
 กฎแห่งกรรมแต่ละประเทศต่างกันไหม?
  กฎแห่งกรรมของคนทุกชาติทุกศาสนาก็คือ
  กฎแห่งกรรมเดียวกัน เพราะเป็นกฎที่ควบคุมสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
 ไม่ได้เกี่ยวเลยว่าคนละชาติคนละภาษา
 แล้วจะมีกฎแห่งกรรมที่ต่างออกไป
 อย่าว่าแต่คนเลย ขนาดสัตว์เดรัจฉานก็ยังต้องอยู่ใต้กฎแห่งกรรมอันเดียวกัน 
กฎแห่งกรรมจึงเป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
 ----------------------------------------------------
กฎแห่งกรรมมีการลดหย่อนผ่อนโทษให้เด็กที่กระทำความผิดโดยไม่รู้ตัวไหม?
 กฎแห่งกรรมไม่ได้มองที่อายุ แต่มองที่เจตนา
ถ้าทำไปด้วยเจตนาที่แรงกล้า ถ้าเป็นกรรมดีบุญก็เยอะ
ถ้ากรรมชั่วบาปก็เยอะ แต่ถ้าเจตนาเบาบาง ทำแบบไม่ค่อยตั้งใจ ถ้าทำกรรมชั่วบาปก็จะน้อย ทำความดีแบบไม่ได้ตั้งใจ ทำแบบเสียไม่ได้ บุญก็ได้นิดหน่อย
 สรุปแล้วอยู่ที่ความตั้งใจ อยู่ที่เจตนา
 ถ้าเด็กทำตามเพื่อนแบบไม่ค่อยตั้งใจเท่าไร อันนี้กรรมก็เบาหน่อย
 แต่ถ้าเป็นเด็กที่ร้ายกาจมาก วางแผนทำชั่วโดยเจตนา
 อันนี้กรรมหนักไม่แพ้ผู้ใหญ่เหมือนกันต้องดูที่เจตนา ไม่ได้ดูที่อายุ
 -------------------------------------------------------------
ทำอย่างไรถึงจะรอดพ้นจากการลงโทษของกฎแห่งกรรม?
ต้องละชั่ว อย่างน้อยที่สุดก็คือ ให้รักษาศีล ๕
๑ ไม่ฆ่า ไม่ทรมานสัตว์
๒. ไม่ลักทรัพย์ ไม่ฉ้อโกง
๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดลูกเมียคนอื่น
๔. ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๕.ไม่ดื่มสุราทุกชนิด ไม่ใช้ยาเสพติดทุกอย่าง
นอกจากนี้ก็จะต้องไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุขทั้ง ๖ อย่าง คือ
๑.ไม่ดื่มน้ำเมา
๒ ไม่เที่ยวกลางคืน
๓ ไม่ดูการละเล่นเป็นนิจ จนเสียการเสียงาน
๔ ไม่เล่นการพนัน
๕ ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร
๖ ไม่เกียจคร้านการทำงาน
 ต้องตั้งใจให้ทาน มีเมตตากรุณาต่อทุกๆ คน
มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือทุกคนอย่างดี
แล้วทำสมาธิภาวนาให้ใจผ่องใส
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้วก็สบายใจได้ในเรื่องกฎแห่งกรรม
ส่วนวิธีการตรวจสอบว่า
สิ่งไหนทำแล้วดีสิ่งไหนไม่ดี
ให้ดูว่าถ้าทำแล้วใจเราผ่องใสนั่นคือกรรมดี 
ถ้าทำแล้วใจขุ่นมัว เศร้าหมองแสดงว่าไม่ดี
และถ้าใครใจใสก็จะไปสวรรค์
ถ้าใครใจหมองก็จะต้องไปอบาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปไว้อย่างนี้
 ------------------------------------------
ถ้าเราตั้งใจละชั่ว ใจเราก็จะไม่หมอง
แล้วพอทำความดี ใจเราก็จะเริ่มสว่างขึ้น
ถ้าจะทำใจให้ผ่องใสโดยตรงเลยก็ต้องทำสมาธิภาวนาให้ใจใสสว่าง 


 เรื่อง : พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ) 
จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC