วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความสำคัญของวันพระ

วันนี้วันพระ
ในฐานะเราเป็ชาวพุทธต้องทำอย่างไรจึงจะถูกหลักวิชชาจ๊ะ??? 

(เราต้องเตรียมอาหารหวานคาว ไทยธรรม
ไปเข้าวัด ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
บำเพ็ญบุญ ที่วัดใกล้บ้านหรือวัดที่เราคุ้นเคยค่ะ/ครับ)

คำๆ นี้เรามันกจะได้ยินอยู่เสมอ เมื่อเราเปิดดู DMC ในวันพระ
แล้วเราปฏิบัติ ทำตามจริงหรือไม่
น้อยคนนักที่จะทำ...
แต่ก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ทำอย่างสม่ำเสมอในฐานะชาววัด ชาวพุทธ
นั่นคือ คนที่มาวัดพระธรรมกาย

แล้ววันนี้สำคัญอย่างไร
?????????????????

ความเป็นมาของวันพระ
     ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยพุทธกาลที่ผ่านมา มีเหล่านักบวชนอกศาสนาประชุม แสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำเป็นปกติ 
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ทราบจึงเกิดความคิดว่า ...
คณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาน่าจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธศาสนิกชน เช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้น

จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระเจ้าพิมพิสารกราบทูลแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตตามนั้น การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาตได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ 

ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม 
ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาพร้อมกับการแสดงอาบัติ

วันพระหรือวันอุโบสถ

      กำหนดโดยถือการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ จากเดือนเต็มดวงจนถึงเดือนมืดและกลับเป็นเดือนเต็มดวงอีกครั้ง โดยคืนพระจันทร์เต็มดวงเรียก ขึ้น  ๑๕ ค่ำ พระจันทร์ค่อยๆ ดับ นับแรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ตามลำดับ ถึง ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์ดับพอดี จากนั้นเริ่มนับขึ้นจากวันขึ้น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันครบรอบ ๑ เดือน

ความสำคัญของวันพระ 

      จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ(Meditation) และปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ

      ๑. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ

      ๒การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้  วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้


 
    
ในส่วนของพุทธศาสนิกชนนั้น การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาผ่านการแสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันแล้วโลกภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเต็มไปด้วยข้อจำกัดในการกระทำความดีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ดังนั้นวันอุโบสถ จึงเป็นเป็นการปรารภเหตุที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีโอกาสหันกลับมาทบทวนการทำดีดังกล่าว โดยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนามากขึ้นเป็นพิเศษ  
************************************************************

พิธีปุพพเปตพลี 
เป็นการทำบุญที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่นครั้งหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ได้กราบทุลอาราธนาสมเด็จพระศาสดาและนิมนต์คณะสงฆ์ไปรับมหาทานที่พระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีอุทิศส่วนกุศลแก่หมู่ญาติของพระองค์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายผ้าและไทยธรรมต่างๆ และทรงอุทิศพระราชกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
      ในครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบันดาลให้พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารเห็นว่าหมู่ญาติที่ไปเกิดเป็นเปรตทั้งหลายมีสภาพเช่นไร หลังจากได้รับผลบุญที่อุทิศไปให้แล้ว กล่าวคือ ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกนั้น มีสระโบกขรณีที่เต็มไปด้วยดอกปทุมอันสวยงามบังเกิดขึ้นในบรรดาเปรตเหล่านั้นได้ดื่มกินน้ำและอาบชำระล้างร่างกาย เมื่อดื่มแล้วก็บรรเทาความกระหาย เมื่ออาบแล้วก็มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดุจทองเนื้องาม ร่างกายที่พิกลพิการก็กลับคืนดังคนปกติ และเมื่อได้รับอาหารคาวหวานที่เป็นทิพย์ ก็ทำให้ร่างกายที่ผ่ายผอมมีน้ำมีนวล อิ่มเอิบ
      อย่างไรก็ตาม ฝูงเปรตเหล่านั้นยังมิได้มีผ้านุ่งผู้ห่ม พระเจ้าพิมพิสารจึงกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่าจะทำประการใด พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้ถวายผ้าสบง จีวรและผ้านิสีทนะแด่พระภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้บริวารจัดหาผ้านุ่ง ผู้ห่ม ผ้ารองนั่งมาถวายแด่คณะพระภิกษุซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทะเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงอุทิศผลบุญนั้นแก่หมู่เปรต เมื่อเปรตทั้งหลายได้รับผลบุญแล้วจึงเปล่งสาธุการ และพากันเข้าไปอยู่ในวิมาน เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้เห็นอานิสงส์ของการให้ทานและการอุทิศผลบุญแก่หมู่ญาติก็ทรงมีความรื่นเริงยินดี เลื่อมใสศรัทธาในการทำทานมากยิ่งขึ้น


พิธีปุพพเปตพลี 
เป็นพิธีอุทิศส่วนบุญที่ตนได้บำเพ็ญไปให้ญาติที่เสียชีวิตแล้ว เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทิตาต่อญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย


วันพระ คือวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน



ในวันพระตลอดเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ข้างแรมจนถึงข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ ๑ เดือน นี้มีอะไรเกิดขึ้น...

ในวันนี้ถ้ามนุษย์ทำความดีก็จะถูกเจ้าหน้าที่เขตบันทึกไว้ในแผ่นลานทอง แล้วเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตก็จะรวบรวมแผ่นทอง ไปให้อากาศเทวาเพื่อรวมบัญชีไปให้หัวหน้าอากาศเทวา 

แล้วรวบรวมไปให้ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 แล้วนำไปถวายท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์เพื่อรายงาน ท้าวสักกเทวราชก็ทำการประชุมคณะกรรมการเพื่อรายงานในวันโกนหรือก่อนวันพระ ๑ วัน วาระการประชุมมี ๒ วาระ

คือ ๑. เรื่องราวของดาวดึงส์

๒.เรื่องราวของท้าวจตุโลกบาลที่เอาบัญชีมารายงาน

เทวดาบางเหล่าดำรงชีวิตด้วยความประมาท เมื่อสิ้นบุญผลแห่งความประมาท วิบากกรรมเก่าจึงส่งผลให้ไปเกิดเป็นเปรตและอสูรกายก็มี ตามกำลังบาป บ้างก็ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี

ท้าวสักกเทวราชท่านจึงสอนเอาไว้ว่า...
อย่าดำเนินชีวิตด้วยความประมาท
ให้ฉลาดในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ...

แล้วก็สั่งสมบุญด้วยการเจริญพุทธานุสติ แล้วก็ไปที่จุฬามณี ...

เทวดาบางเหล่าด้วยดำรงชีวิตด้วยความประมาท เมื่อเธอสิ้นบุญ ด้วยผลอันเหลือจากกุศลกรรมในอดีตทำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ...

เทวดาบางเหล่าไม่ประมาท มีทิพยสมบัติมาก มีกามอันเป็นทิพย์ที่ประณีต แต่ไม่มัวเมา หมั่นเพิ่มเติมกุศลกรรมด้วยการไปนมัสการพระจุฬามณีหลังจากที่ฟังธรรมในสุธรรมสภาเสร็จแล้ว เมื่อเธอหมดบุญ หมดสิ้นอายุขัยในภพนั้นแล้ว จะกลับมาจุติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีก หรือไปเกิดในสวรรค์ชั้นที่สูงขึ้นไปตามกำลังบุญ


หลังจากท้าวสักกะให้โอวาทเสร็จ เวลาค่ำของโลกมนุษย์ ท้าวสักกะจะประกาศให้แก่เทวดาที่มาประชุมที่สุธรรมเทวสภาว่า

ในช่วงเวลาในวันที่ผ่านมา คือวันพระ หมู่มนุษย์ทำบุญ บางพวกก็ดูแลบิดามารดา บางพวกก็ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีจำนวนมากน้อยเพียงใด หรือทำกุศลกรรมอะไรต่างๆ เป็นต้น

จะประกาศในช่วงพระจันทร์ขึ้นในเมืองมนุษย์ จะประกาศถึงมนุษย์และหมู่มนุษย์ว่าพวกไหนที่ทำบุญใหญ่ให้เทวดาทั้งหลายได้อนุโมทนากัน

ถ้าช่วงใดที่มนุษย์สร้างบุญน้อยเทวดาที่ดาวดึงส์ก็จะคุยกันในหมู่เทวดาว่าสวรรค์คงจะว่าง นรกคงจะแน่น

หากมนุษย์ประมาทในการดำเนินชีวิต หากช่วงใดที่มนุษย์ที่ทำบุญมีจำนวนมากเทวดาที่ดาวดึงส์ก็จะดีใจ รัศมีกายก็จะแพรวพราวทีเดียว

จะปรารถนาว่าในอนาคตสวรรค์คงจะเนื่องแน่น นรกคงจะว่างแน่นอนเลย





ในช่วงเวลาที่ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ คือวันพักในยมโลก แต่ในมหานรกไม่ได้พัก อุสสทนรกก็ไม่ได้พัก

ในช่วงคืนเดือนเพ็ญเจ้าหน้าที่ยมโลกก็จะหยุดทัณฑ์ทรมานสัตว์นรก จะยืนดูเฉยๆ เจ้าหน้าที่บางพวกที่ครบกะก็จะกลับไปพักที่จาตุมหาราชิกา แล้วก็จะมีพลัดใหม่เข้ามา

พวกที่ยังไม่หมดกะ ก็จะยืนดู ยืนเฝ้าสัตว์นรกไม่ให้หนีไปไหน สัตว์นรกก็จะหมดแรงนอนอยู่กับพื้น บางพวกที่อยู่ในหม้อทองแดงไฟก็จะไม่ลุกไหม้ แต่น้ำในหม้อยังร้อนอยู่ แต่ลดลงมาหน่อย เหมือนไฟในเตาโลกมนุษย์ที่พอดับไฟน้ำก็ยังร้อนอยู่แต่ไม่เดือดพล่าน บางพวกก็ขึ้นมาอยู่บนปากหมอได้ พวกที่กำลังปีนต้นงิ้ว ต้นงิ้วนี้ไม่มีในมหานรก จะมีแต่ในยมโลก ต้นงิ้วในวันพระ หนามงิ้วจะหดกลับเข้าไป สัตว์นรกก็จะมีโอกาสลงมานอนพักอยู่กับพื้น บางพวกก็ร้องครวญครางร้องขอความเห็นใจ

ส่วนเจ้าหน้าที่ที่แปลงร่างเป็นสุนัขปากเหล็ก อีกาปากเหล็ก ก็จะกลับคืนสู่ร่างเดิมที่เป็นกุมภัณฑ์ แต่เจ้าหน้าที่ที่ใกล้จะหมดกรรมจากที่เป็นเจ้าหน้าที่ ก็จะไม่ค่อยมีอารมณ์อยากทำโทษสัตว์นรก ก็จะปลอบสัตว์นรก เช่น อดทนหน่อยนะ แต่พอเลยวันพระไปก็จะเริ่มทัณฑ์ทรมานกันต่อไปตามปกติ ถ้าโชคดีญาติที่อยู่บนเมืองมนุษย์อุทิศบุญมาให้ก็จะพ้นกรรมเร็วขึ้น

ส่วนของผู้พิพากษาคือพญายมราช พอถึงวันพระใหญ่หรือวันเพ็ญก็จะพักการพิพากษา บางท่านหมดกะก็จะไปพักที่จาตุมหาราชิกา แล้วก็จะมีพญายมราชชุดใหม่มาเปลี่ยนรับหน้าที่แทน พวกที่ยังไม่หมดกะก็มีโอกาสพัก แล้วก็อาจจะไปทานอาหารทิพย์ตามกำลังบุญของตน โดยส่วนใหญ่อาหารจะเป็นเนื้อสดๆ เป็นของสด ของคาว ถ้าหากญาติทำบุญให้ โดยอุทิศแบบเจาะจง สัตว์นรกในยมโลกก็จะได้รับบุญนั้น พอพ้นวันพระแรม ๑ ค่ำ ถ้าหากสัตว์นรกหมดกรรมก็จะพามาที่โรงพิพากษาอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับรู้ในบุญที่ญาติอุทิศมาให้ แล้วจะส่งไปเกิดตามกำลังบุญ


      ดังนั้นในวันพระ พุทธศาสนิกชนผู้ใคร่ในธรรม ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา และควรที่จะสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วย นอกจากนี้ในวันพระ เราก็ไม่ควรกระทำบาปใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการทำผิดศีล ๕ ในวันพระถือว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง 

วันพระควรทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้หมู่ญาติที่ละโลกไปแล้ว 
เพราะพวกเขารอรับส่วนบุญกุศลจากเราอยู่


1 ความคิดเห็น: